ส่วนประกอบอาหาร 4 อย่างที่ดีสำหรับหัวใจ

ส่วนประกอบอาหาร 4 อย่างที่ดีสำหรับหัวใจในสภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลภาวะรอบตัวมากมาย เราต่างต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดีเพื่อที่จะได้มีแรงทำงานในสิ่งที่เรารัก สามารถทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวและเพื่อนฝูงได้อย่างมีความสุข ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่เราทุกคนต้องการให้หัวใจของเราทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ วิธีการกินอาหารเพื่อสุขภาพ การเล่นกีฬา และการตรวจร่างกายเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่นั่นยังไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการได้รับสารอาหารที่มีความสำคัญต่อหัวใจโดยตรงก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยเช่นเดียวกัน ต่อไปนี้เป็นสารอาหาร 4 อย่างที่จะช่วยให้หัวใจของคุณแข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม เป็นแร่ธาตุที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายและมีบทบาทหน้าที่หลายอย่าง เป็นองค์ประกอบของโครงสร้างกระดูก การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยลดความดันโลหิต และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด จึงป้องกันความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ ดังนั้น จึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับหัวใจและระบบไหลเวียนของเลือดทุกส่วนของร่างกาย แมกนีเซียมสามารถลดระดับความดันโลหิต ช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล มีส่วนช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ได้แก่ โกโก้ ช็อคโกแลต ถั่ว เมล็ดฟักทอง เมล็ดธัญพืช เป็นต้น

กรดไขมันโอเมก้า 3

มีหลักฐานที่ยืนยันว่าผู้ที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นประจำมีความเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดน้อยลง มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล มีบทบาทในการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้ลดการแข็งตัวตีบตันของหลอดเลือดแดงของหัวใจและส่วนอื่นๆของร่างกาย ลดการแข็งตัวของเกล็ดเลือด และขยายหลอดเลือด เป็นต้น

กรดไขมันโอเมก้า 3กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกลุ่มกรดไขมันซึ่งมีสารสำคัญหลักอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Decosahexaenoic acid) โดยปลาที่มีกรดไขมันชนิดนี้อยู่มาก ได้แก่ ปลาทะเลต่างๆ ปลาแซลมอน เฮียริ่ง แมคเคอเรล เทราต์ ซาร์ดีน ปลาดุก การรับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลา และถั่วต่างๆ

กรดโฟลิก

หรือเรียกว่า โฟเลต (folate) หรือวิตามินบี 9 ซึ่งกรดโฟลิกนี้มีความสำคัญต่อหัวใจอย่างมาก เพราะสามารถช่วยลดระดับ homocysteine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สามารถนำไปสู่การทำลายหลอดเลือดในร่างกาย สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคหัวใจ อันตรายจากโคเลสเตอรอลและโฮโมซิสเทอีน นักวิจัยกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกเป็นประจำทุกวันสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวายได้มากถึง 20%

แหล่งที่ดีของวิตามินบี 9 ได้แก่ ผักสีเขียว ผักโขม บรอคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่ว และธัญพืช ผลไม้รสเปรี้ยว หรือเมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ส่วนเนื้อสัตว์มีโฟเลตในปริมาณที่ตํ่า

อบเชย

อบเชยอบเชย เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก นอกจากทำให้อาหารและของหวานมีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพมากมาย เปลือกของอบเชยประกอบไปด้วยสารแทนนิน (Tannins) สารอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่เพียงแต่มีผลต้านการอักเสบและเป็นยาแก้ปวด แต่ยังมีผลดีในการทำงานของหัวใจ อบเชยได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และระดับไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อบเชยเป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอล (Polyphenolics) และเชื่อว่าอาจส่งผลดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด การรับประทานอบเชยหรือสารสกัดจากอบเชยอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้

อย่างไรก็ตาม การบริโภคอบเชยอาจไม่ปลอดภัยนักหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปหรือรับประทานน้ำมันอบเชย เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว เยื่อเมือก กระเพาะอาหาร ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

แบ่งปัน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here